งานลงรักปิดทองมีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี เป็นการนำเอาทองมาทำเครื่องทรงเครื่องประดับ ส่วนที่เป็นโบราณสถานก็จะใช้แผ่นทองมาตีจนบางแล้วนางมาติดประดับ โดยพบหลักฐานที่ถ้ำเขางู จังหวัดราชบุรี เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พบเห็นรอยปิดทองที่องค์พระที่ฐานชุกชี ซึ่งในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานพบว่ามีการปิดทองบนลวดลายทับไม้ มีปรากฏหลักฐานทางพุทธสถาน เจดีย์ พระพุทธรูป ที่มีการปิดทองและเขียนสี ที่วัดศรีชุม ซุ้มพระปรางค์วัดพระพลายหลวง พระพุทธชินราช พระเจดีย์ทองในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ ซึ่งแต่เดิมเคยลงรักปิดทองมาก่อน
งานปิดทองและงานประดับกระจกมักจะอยู่ในส่วนงานของช่างสิบหมู่กรมศิลปากรงานปิดทองเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจะเห็นได้จากงานศิลปะต่างๆในพระบรมมหาราชวังพระวิหารหน้าบานซุ้มประตูซุ้มหน้าต่างพระพุทธรูปตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆในราชสำนักและพระอารามหลวงเช่นตู้โต๊ะธรรมมาสตู้พระธรรมงานปิดทองจัดเป็นงานช่างศิลป์ประเภทหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในหมู่ช่างรักประกอบด้วยช่างลงรักช่างปิดทองช่างประดับกระจกและช่างมุก
ส่วนงานประดับกระจกเป็นศิลปะการประดับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้และส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลและแบบอย่างมาจากประเทศอินเดียซึ่งนิยมระดับกระจกสีชิ้นเล็กๆลงบนเสื้อผ้าอาภรณ์และเครื่องสูงของกษัตริย์มีหลักฐานพบว่ามีการประดับกระจกลงในพื้นลายสลักไม้สุโขทัย แต่หลักฐานที่เด่นชัดมากที่สุดคือสมัยอยุธยานิยมประดับกระจกเป็นของสวยงามประกอบงานประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
งานลงรักปิดทองประดับกระจกมักจะทำเป็นงานสุดท้ายต่อจากงานปั้นงานแกะสลักหรืองานตกแต่งส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมไทยเนื่องจากกระจกเป็นวัสดุที่ทนต่อแดดต่อฝนเป็นส่วนสำคัญในการตกแต่งประดับประดาเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับชิ้นงานให้ดูสวยสดงดงามมากยิ่งขึ้นด้วยสีสันของลวดลายของกระจกที่ถูกประณีตตกแต่งคลื่นและต้องใช้เวลาฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการออกแบบลวดลายให้ผสมผสานกันระหว่างตัวผิวกระจกด้วยและประกายแสงที่เปล่งออกคล้ายอัญมณีเมื่อได้รับการกระทบจากแสงสว่างส่องมาที่เห็นโดยทั่วไปมักจะเป็นช่อฟ้าใบระกาคูหาหางหงส์หน้าบรร ฐานพระธรรมมาส
งานประดับกระจกในจังหวัดเพชรบุรีสามารถเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะฐานพระประธาน ในวัดมหาธาตุวรวิหารและวัดสุวรรณาราม หรือจะมีตามหน้าบันพระอุโบสถ ช่อฟ้า ใบระกา ธรรมมาสน์ คันทวยฐานชุกชีพระพุทธรูป เป็นต้น

ฐานพระพุทธรูปวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชบุรี ที่มีงานปิดทองประดับกระจดที่สวยงาม
ไปด้วยกัน. (2563). วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566, จาก
https://shorturl.asia/oZSr0