งานลายรดน้ำ

งานลายรดน้ำเป็นวิธีการเขียนกิจกรรมลวดลายสีทองลงบนพื้นรักหรือพื้นทาชาดเรียกกันทั่วไปว่า  ลายปิดทองรดน้ำ ต่อมามีการเรียกชื่อให้สั้นลงเป็น ลายรดน้ำ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าศิลปะการเขียนลายรดน้ำมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและเริ่มแพร่หลายมายังกรุงศรีอยุธยากินระยะเวลากว่า 400 ปี ช่างลายรดน้ำส่วนใหญ่มักจะเขียนระบายพื้นสีแดงชาด ที่ทำเป็นลายรดน้ำสีดำล้วนก็มีแต่การทำกันในภายหลัง โดยมีการสันนิษฐานว่าลายรดน้ำจะมีพื้นที่มีสีแดงกับสีดำเนื่องว่าแรกเริ่มการทำลายรดน้ำเกิดขึ้นในหมู่ช่างหลวงประจำราชสำนักก่อน กล่าวได้ว่าช่างหลวงเป็นผู้นำทางด้านศิลปะอยู่ตลอดเวลามีหน้าที่สร้างสรรค์งานต่าง ๆ เพื่อพระมหากษัตริย์และอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้มีโอกาสคิดค้นสิ่งใหม่ ๆตลอดเวลาสำหรับสีมีคติเกี่ยวกับสีเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์จึงใช้สีแดงเป็นหลัก กรณีลายรดน้ำพื้นแดงก็เนื่องมาจากเหตุที่เป็นสิ่งที่ช่างหลวงประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายและเพื่อประโยชน์ในส่วนราชการก่อน  เมื่อล่วงเลยมาหลายยุคหลายสมัยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดที่มีศรัทธาทำสิ่งของถวายวัดก็มักจะมีการใช้การลงรักปิดทองด้วยทาพื้นชาดสีแดง จากนั้นมีชาวบ้านเลียนแบบงานลักษณะนี้มากขึ้นแต่ก็ไม่สามารถทำได้ดีเหมือนของหลวงและมีการออกกฎหมายห้ามใช้สีแดงในการทำข้าวของเครื่องใช้เทียบเคียงกับพระมหากษัตริย์ สามัญชนเลยมีการเปลี่ยนมาใช้พื้นสีดำดังนั้นรายรดน้ำจึงเป็น 2 สีดังกล่าว

งานรายรดน้ำเป็นการตกแต่งเครื่องใช้เครื่องประดับ โดยมีการเขียนลวดลายและรูปภาพด้วยวิธีการปิดทองรดน้ำ การเขียนลวดลายในรูปภาพด้วยวิธีการปิดทองรดน้ำหรือลายรดน้ำเป็นวิธีการออกแบบตกแต่งของข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับ ซึ่งช่างเขียนไทยได้ทำมาเป็นเวลานานการเขียนลายรดน้ำเดิมจะเขียนเป็นรูปลายไทย ลายกนก ลายเทพเทวดา หรือสัตว์แต่วรรณคดีแต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์ลวดลายออกมาได้อย่างหลากหลายและร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีการคงความงามของจิตรกรรมรายรดน้ำของไทยที่ยังมีคุณค่าเหมือนเดิมและใช้วัสดุอุปกรณ์ที่แตกต่างกันมากขึ้นมีการนำเอาศิลปะและรดน้ำมาทำเป็นเครื่องประดับบ้าง ต่างจากแนวความคิดเดิมในสมัยอดีตซึ่งมีความเชื่อว่าลายรดน้ำเป็นศิลปะชั้นสูงสมควรที่จะอยู่ในเฉพาะวังและวัดเท่านั้น มีการจัดทำลายรดน้ำในส่วนของตู้พระไตรปิฎก ตู้พระธรรม บานประตู บานหน้าต่าง รวมไปถึงภาพติดประดับฝาผนัง ศาลาการเปรียญ เสาต่างๆภายในพระอุโบสถ เป็นต้น

ครูธานินทร์ ชื่นใจ ศิลปินจิตรกรรมและลายรดน้ำเพชรบุรี

ลายรดน้ำบนวัตถุเครื่องจัดแสดงต่าง ๆ

ผู้จัดการออนไลน์.  (2554).  สืบสานงานศิลป์ล้ำค่า ผ่าน 3 ครูช่างเมืองเพชร.  สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 
2566,  จาก https://mgronline.com/travel/detail/9540000094953

ผลงานศิลปินช่างเมืองเพชร

ไม่พบข้อมูล