เครื่องทองเป็นศิลปะของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นสิ่งที่แสดงถึงลำดับชั้นทางสังคมที่แตกต่างกันของผู้ที่มีบรรดาศักดิ์และสามัญชนทั่วไป ใช้เป็นเครื่องประดับและยังเป็นอีกหนึ่งในรูปแบบของการออมทรัพย์ในสมัยก่อนด้วย ปัจจุบันมีการสร้างสรรค์ทองรูปพรรณเกิดขึ้นจึงเป็นศิลปะหัตถกรรมที่ผสมผสานความงดงามทางศิลปะและการนำมาใช้ประโยชน์เข้าด้วยกัน จังหวัดเพชรบุรีเป็นเมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ยาวนานแต่หลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่างทอเมืองเพชรบุรีเริ่มปรากฏให้เห็นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยช่างทองคนแรกของจังหวัดเพชรบุรี คือนายหวน ตาลวันนา
ช่างทองแถบจังหวัดเพชรบุรีจะอาศัยอยู่แถบหัวถนนพานิชเจริญบริเวณวัดเกาะและศาลเจ้าบ้านปืนจนถึงบริเวณตรอกถ้าช่องตระกูลช่างทองของเมืองเพชรมี 2 ตระกูลที่สำคัญคือตระกูลทองสัมฤทธิ์และตระกูลสุวรรณช่าง โดยช่างทั้ง 2 ตระกูลนี้เริ่มทำทองมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยรูปแบบของทองรูปพรรณตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 มีรูปแบบเครื่องทองแปลก ๆ หลายรูปแบบเนื่องจากมีการออกแบบดัดแปลงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น แหวนงู เสมา ประจำยาม เป็นต้น
ช่างทองจะเป็นผู้ที่มีความอดทนอดกลั้นเนื่องจากเป็นงานซ้ำซากจำเจที่ต้องนั่งอยู่เป็นเวลานานต้องใช้สมาธิ ใช้เวลา ใช้ความละเอียดปราณีตอย่างมาก ประกอบกับต้องมีสายตาที่ดี ในขณะที่มีค่าตอบแทนต่ำเมื่อเทียบกับเวลา และผลงานช่องทองส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างสตรี ทองรูปพรรณของช่างทองเมืองเพชรบุรีเป็นงานศิลปะที่มีความละเอียดงดงามมีความสมบูรณ์ในการใช้สอยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ควรดำรงรักษาและสืบทอดตลอดจนประยุกต์ใช้งานในอนาคต