งานแทงหยวกเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์สืบทอดมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเข้ามาสู่เพชรบุรีช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีการพัฒนารูปแบบและวิธีการผสมผสานศิลปะต่างๆเข้าด้วยกันโดยเฉพาะการประยุกต์ศิลปะของเมืองเพชรบุรีกลายเป็นศิลปะการแทงอยู่เมืองเพชรบุรีได้อย่างกลมกลืนมีความละเอียดอ่อนช้อยของลวดลายที่แตกต่างกันไปตามสภาพสังคมแต่ละท้องถิ่น เป็นศิลปะที่มีความสำคัญในการใช้งานประกอบการประดับเชิงตะกอนเผาศพและประกอบการตกแต่งเมรุในงานศพ ด้วยเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำเอากาบของต้นกล้วยมาเขียนลายผูกลายเป็นลายไทย แล้วนำมาสลักฉลุ หรือแทงด้วยมีดให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ในการแทงหยวก เช่น ลายกระจังฟันหนึ่งหรือลายฟันปลาลายกระจังฟันสามหรือลายบัวคว่ำ บัวหงาย ลายเสา ลายหน้ากระดาน ลายดอกสิงห์ ลายกนก เป็นต้น