งานจำหลักหนังใหญ่

หนังใหญ่เป็นมหรสพเก่าที่ได้รับความนิยมในอดีตและยอมรับว่าเป็นศิลปะการเล่นละครชั้นสูงของไทยพบเป็นการรวมเอาศิลปะหลากหลายอย่างเข้าไปด้วยกันทั้งงานจิตรกรรมงานแกะสลักวรรณกรรมดนตรีและนาฏศิลป์หนังใหญ่ของเมืองเพชรบุรีมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยคณะดังใหญ่จากวัดพลับพลาชัยมีหลวงพ่อฤทธิ์เป็นผู้จำหลักหนังกว่าหลายร้อยตัวและได้มีโอกาสนำการแสดงถวายต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ในพระรามราชนิเวศน์ หนังใหญ่เมืองเพชรบุรีของหลวงพ่อฤทธิ์มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมจนได้ชื่อว่าชุดพระนครไหวเนื่องจากการแสดงดีบทดีร้องส่งดีร้องรับดีคนเชิดดีและดนตรีดีทำให้ผู้ชมหนังใหญ่ในช่วงนั้นมีจำนวนมากอย่างล้นหลามจากทั่วทุกสารทิศ

แล้วต่อมาหนังใหญ่ก็มาถึงยุคเสื่อมเนื่องจากขาดผู้สืบทอดสืบสานตัวหนังใหญ่ก็มีการสูญหายไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากไฟไหม้วัดพลับพลาชัยครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ 2485 ยังคงเหลือเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดพลับพลาชัยเพียงไม่กี่ตัวสำหรับช่างยุคหลังที่ยังคงจำหลักหนังใหญ่อยู่มี ครูช่างนูญ เนตรสุวรรณ  และครูช่างจิตรภาณุ คล้ายเพชร หรือ มหาฟลุ๊ค ซึ่ง ฟลุ๊ค เป็นหนุ่มเมืองเพชรบุรีรุ่นใหม่ที่หันมาสืบสานการจำหลักหนังใหญ่ในปัจจุบัน โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากครูช่างพิทยา ศิลป์ศร (ครูช่างตอกกระดาษ) และครูช่างมนูญ เนตรสุวรรณ (ครูช่างจำหลักหนังใหญ่)

จิตรภาณุ คล้ายเพชร

เพชรภูมิ เพชรนิวส์.  (2565).  หนุ่มเมืองเพชรผู้หลงใหลในตัวหนังตะลุง
สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566,  จาก https://petchpoom.com/

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดพลับพลาชัย

ผู้จัดการออนไลน์. (2565).  ตื่นตา“หนังใหญ่วัดพลับพลาชัย”อันซีนเมืองเพชร ร่วม“ตอกลาย สร้างศิลป์”
ตามรอยหลวงพ่อฤทธิ์.  สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566,  จาก https://mgronline.com/travel/ 
detail/9650000044474

ผลงานศิลปินช่างเมืองเพชร

ไม่พบข้อมูล