สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม

ประธานสาขาวิชา อาจารย์พนัส ชัยรัมย์
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย: ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม
ชื่อย่อ: ศศ.บ. (การพัฒนาชุมชนและสังคม)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts (Community and Social Development)
ชื่อย่อ : B.A. (Community and Social Development)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต หรือตามที่สาขาวิชากำหนด
กิจกรรมเสริมหลักสูตร :
โครงการพัฒนาบุคลิกภาพ โครงการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อการศึกษาและสวัสดิการฯ
โครงการออกค่ายอาสาพัฒนา โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนท้องถิ่น โครงการฝึกประสบการณ์ใน
ชุมชน สัมมนาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชน ร่วมส่งเสริมวิจัยและนวัตกรรม
ใหม่กับหน่วยงานเครือข่ายการเรียนรู้ ฝึกกระบวนการจัดทำแผนและการบริหารงานชุมชนและสังคม และประเมิน
มาตรฐานแผนชุมชนและหน่วยงานองค์กรชุมชน
การจัดการศึกษา : เปิดสอนภาคปกติ และภาคพิเศษ (เรียนเสาร์ – อาทิตย์)
ระยะเวลาตลอดหลักสูตร : 4 ปี (8 ภาคการศึกษา)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร :
ภาคปกติ 80,000 บาท (ภาคการศึกษาละ 10,000 บาท)
ภาคพิเศษ 96,000 บาท (ภาคการศึกษาละ 12,000)
ตัวอย่างรายวิชา
– ปรัชญาเบื้องต้น -ปัญหาสังคม- การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนการพัฒนาโครงการ
– การพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-ภูมิสังคมกับการพัฒนาชุมชนและสังคม
– ประชาสังคมกับการพัฒนาเครือข่ายทางสังคม – ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชนและสังคม
– ภาวะผู้นำและพลวัตกลุ่มชุมชนและสังคม – เศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
– สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา – ความรู้ทางการปกครองสำหรับนักพัฒนาชุมชนและสังคม
– จิตวิทยาและสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม – สวัสดิการและความมั่นคงของมนุษย์
– การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในชุมชน – การจัดการฝึกอบรมและการจัดการศึกษาและมีส่วนร่วม
– การจัดระบบดิจิทัลในงานพัฒนาชุมชนและสังคม – การรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยความร่วมมือชุมชน
– การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – สหกรณ์และสถาบันการเงินชุมชน
– ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน – หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในชุมชนและสังคม
– ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม -การใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเกษตร
-การจัดการความขัดแย้งในงานพัฒนาชุมชนและสังคม – ความมั่งคงทางอาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
บัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคมทำงานอะไรได้บ้าง
นักพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคม ผู้ช่วยนักวิจัย ครูผู้ช่วยและบุคลากรทางการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักส่งเสริมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่สินเชื่อสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป องค์การพัฒนาเอกชน NGO ประกอบธุรกิจส่วนตัว เจ้าหน้าที่ CSR บริษัทเอกชน