ประวัติความเป็นมา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.๒๕๑๘ ใช้ชื่อว่า
“คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”
โดยประกอบด้วย หมวดวิชาต่างๆจำนวน ๗ หมวดวิชา ได้แก่
๑. หมวดวิชาภาษไทย                         ๕. หมวดวิชาดนตรี
๒. หมวดวิชาภาษาอังกฤษ                ๖. หมวดวิชานาฏศิลป์
๓. หมวดวิชาสังคมศึกษา                  ๗. หมวดวิชาศิลปศึก
๔. หมวดวิชาบรรณารักษศาสตร์
 ซึ่งแต่เดิมสอนวิชาการศึกษาเพียงอย่างเดียว หมายถึง การศึกษาสำหรับครู
 ต่อมาคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดแบ่งหน่วยงานในคณะวิชาเป็น ๑๑ ภาควิชา
 ได้แก่
 ๑. ภาควิชาภาษาไทย                       ๒. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา               ๓. ภาควิชาศิลปศึกษา
 ๔. ภาควิชาภาษาต่างประเทศ         ๕. ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์     ๖. ภาควิชาดนตรี
 ๗. ภาควิชาสังคมศึกษา                  ๘. ภาควิชาภูมิศาสตร์                             ๙. ภาควิชานาฏศิลป์
 ๑๐. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์      ๑๑. ภาควิชาประวัติศาสตร์      
 ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗
              ให้วิทยาลัยครูเป็น “สถาบันอุดมศึกษาและวิจัย” ทำการสอนถึงระดับปริญญาตรี ทั้งสาขาครุศาสตร์(ค.บ.)
 สาขาศิลปศาสตร์(ศศ.บ.)และวิทยาศาสตร์(วท.บ.) ทำให้วิทยาลัยครูเพชรบุรี ยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษา
 เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ
              โดยมีคณะวิชาที่ยกเป็นหลักอยู่ ๓ คณะวิชา คือ ๑.คณะวิชาครุศาสตร์ ๒.คณะวิชาวิทยาศาสตร์
 ๓.คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต่อมาได้ยกคณะวิชาวิทยาการจัดการ เป็นคณะที่ ๔ และคณะอื่นๆ
 ตามมาเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๐
              คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำเอาหลักการบริหารวิชาภายในคณะ โดยเปลี่ยนจาก
 ภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา เพื่อให้เป็นไปตามหลักการบริหารวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไป
 และเพื่อให้สะดวกคล่องตัวและทันสมัยขึ้น โดยมีประธานโปรแกรมวิชาเป็นผู้บริหารงานวิชาการของโปรแกรม
 และในปี พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นต้นมา ได้ปรับจากโปรแกรมวิชาเป็นสาชาวิชาอีกครั้งหนึ่ง
 และในปีการศึกษา ๒๕๕๑
   มีการปรับปรุงหลักสูตรตามมาตรฐาน TQF และเริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงในปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นมา ดังนี้
 ๑. หลักสูตรภาษาไทย (ค.บ.)                          ๗. หลักสูตรนิติศาสตร์ (น.บ.)
 ๒. หลักสูตรภาษาอังกฤษ (ค.บ.)                  ๘. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รป.บ.)
 ๓. หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ (ศศ.บ.)     ๙. หลักสูตรการพัฒนาและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ศศ.บ.)
 ๔. หลักสูตรภาษาจีน (ศศ.บ.)                       ๑๐. หลักสูตรศิลปะการออกแบบ (ศศ.บ.)
 ๕. หลักสูตรสังคมศึกษา (ค.บ.)                    ๑๑. หลักสูตรนาฏดุริยางคศาสตร์ (ค.บ.)
 ๖. หลักสูตรการพัฒนาชุมชน (ศศ.บ.)        ๑๒. หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์(ศศ.บ.)
 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำเอาหลักการบริหารวิชาการภายในคณะ โดยเปลี่ยนจากภาควิชาเป็น
 โปรแกรมวิชา เพื่อให้เป็นไปตามหลักการบริหารวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไป และเพื่อให้สะดวก
 ในการบริหารวิชาการและขจัดความซ้ำซ้อน และขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทำให้การบริหารแบบโปรแกรมวิชา
 มีความสะดวกคล่องตัวและทันสมัยขึ้น โดยมีประธานโปรแกรมวิชาเป็นผู้บริหารงานของโปรแกรม
 และในปี พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นต้นมา ได้ปรับจากโปรแกรมวิชาเป็นสาขาวิชาอีกครั้งหนึ่งและได้ใช้เรียกมาจนถึงปัจจุบัน

Scroll to Top
Scroll to Top